อัปเดต 10 มาตรการรัฐช่วยคนมีบ้าน ปี 2567 ใครได้สิทธิ์อะไรบ้าง?

แชร์บทความ:

Share:

อัปเดต 10 มาตรการรัฐช่วยคนมีบ้าน ปี 2567 ใครได้สิทธิ์อะไรบ้าง?


เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง กระตุ้นการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับประเทศสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมระดับโลกตามวิสัยทัศน์ Thailand Vision ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ 1.7-1.8% และช่วยให้ประชาชนสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น ทั้งการซื้อและการเช่า โดยสรุปมาตรการสำคัญได้ดังนี้

  1. ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองบ้าน-คอนโดราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท จากเดิมที่ 3 ล้านบาท โดยลดค่าจดทะเบียนโอนและจำนองในคราวเดียวกันเหลือเพียง 0.01% ตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศใช้ถึง 31 ธ.ค. 2567
  2. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ปลูกสร้างบ้านเอง โดยนำค่าจ้างก่อสร้างไปหักลดหย่อนได้ 10,000 บาทต่อทุก 1 ล้านบาท แต่รวมไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับสัญญาจ้างและการก่อสร้างในช่วง 9 เม.ย. 2567 - 31 ธ.ค. 2568
  3. ธอส.ออกสินเชื่อบ้าน Happy Home วงเงิน 20,000 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 5 ปี วงเงินกู้รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยาวถึง 40 ปี เพื่อซื้อที่ดิน บ้าน คอนโด หรือปลูกสร้างบ้านใหม่
  4. ธอส. ออกสินเชื่อบ้าน Happy Life อีก 10,000 ล้าน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.98% วงเงินกู้ขั้นต่ำ 2.5 ล้านบาท เพื่อใช้ซื้อ สร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม หรือไถ่ถอนที่อยู่อาศัย
  5. ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อบ้านวงเงิน 10,000 ล้าน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.95% ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี เริ่มผ่อนขั้นต่ำเพียงเดือนละ 2,500 บาท สำหรับซื้อ สร้าง หรือรีไฟแนนซ์บ้านใหม่
  6. การเคหะแห่งชาติจัดโปรโมชันเช่าบ้านราคาพิเศษ เริ่มต้น 1,200 บาทต่อเดือน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือเช่าเพื่อซื้อในระยะสั้น 3-5 ปี โดยคัดเลือกโครงการในกรุงเทพฯและปริมณฑลรวม 1,428 ยูนิต
  7. ธอส.เปิดให้จองสิทธิ์โครงการบ้านล้านหลัง เฟส 3 ให้กู้ราคา 1.5 ล้านบาทต่อยูนิต ดอกเบี้ยคงที่ 3% นาน 5 ปีแรก ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียมการประเมินและจดจำนอง
  8. คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการที่สร้างโครงการบ้านราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทขายให้ผู้มีรายได้น้อย โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงินไม่เกิน 100% ของเงินลงทุน
  9. ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับผ่อนคลายมาตรการ LTV ให้กู้ซื้อบ้านหลังแรกได้สูงสุด 110% ของมูลค่าหลักประกัน เพื่อนำส่วนเกินไปใช้ตกแต่งบ้านได้ รวมทั้งลดเงินดาวน์บ้านราคาเกิน 10 ล้านลงเหลือ 10%
  10. ปรับหลักเกณฑ์ LTV กรณีกู้ร่วม โดยให้นับสัญญาตามผู้กู้ที่มีกรรมสิทธิ์ ไม่นับผู้กู้ร่วมที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ช่วยกันกู้ซื้อบ้านได้มากขึ้น


ปรับเกณฑ์มาตรการ LTV เพื่อคนซื้อบ้านกรณีกู้ร่วม

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือ LTV (Loan-to-Value ratio) เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อและป้องกันปัญหาหนี้เสีย แต่มาตรการนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อบ้าน โดยเฉพาะในกรณีที่มีการกู้ร่วมกัน

ดังนั้น ในปี 2567 นี้ ธปท. จึงได้ปรับผ่อนคลายหลักเกณฑ์ LTV เพื่อเอื้อให้ผู้กู้ร่วมที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยจะไม่นับว่าผู้กู้ร่วมรายนั้นเป็นผู้กู้ในครั้งนั้น เนื่องจากเป็นการกู้เพื่อช่วยเหลือกันในครอบครัว ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยเอง

หลักการใหม่ในการนับสัญญาสำหรับการกู้ร่วมมีดังนี้

  • ให้นับสัญญาตามผู้กู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลัก
  • ถ้าผู้กู้ทั้งสองฝ่ายต่างมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น ก็ให้ถือเป็นสัญญาที่ 2 ของผู้ที่เคยกู้มาก่อน แต่ถ้ากรรมสิทธิ์เป็นของผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ก็ให้ถือเป็นสัญญาแรกของผู้นั้น และไม่นับเป็นสัญญาที่ 2 ของผู้ที่เคยกู้บ้านมาก่อน
  • ถ้าผู้กู้ A และ B เคยกู้ร่วมกันมาก่อน โดย A มีกรรมสิทธิ์คนเดียว ก็จะนับเป็นสัญญาแรกของ A เท่านั้น ไม่นับเป็นสัญญาแรกของ B ดังนั้นเมื่อ B มากู้บ้านเพิ่มอีกหลังจะถือเป็นสัญญาแรกของ B ยกเว้นถ้าตอนกู้ร่วมครั้งแรก B ก็มีกรรมสิทธิ์ด้วย การที่ B มากู้อีกหลังจะถือเป็นสัญญาที่ 2 ของ B

การปรับหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยให้กลุ่มผู้กู้ร่วมที่เป็นสมาชิกครอบครัวสามารถเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ถูกนับว่าเป็นการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของตน ทำให้มีโอกาสได้รับวงเงินสินเชื่อตามเกณฑ์ที่ผ่อนคลายกว่าเดิม นับเป็นมาตรการหนึ่งที่ธปท.ใช้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถมีบ้านเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เช่นนี้

อัปเดตมาตรการ LTV ให้กู้เพิ่มได้ 10%

ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Loan-to-Value: LTV เพื่อช่วยให้ประชาชนกู้บ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงได้ง่ายขึ้น โดยมีเกณฑ์ดังนี้

โดยผู้กู้สามารถกู้เพิ่มได้ 10 % สำหรับการตกแต่งบ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือส่งจำเป็นอื่นๆ ต่อการเข้าอยู่อาศัย

7 ทำเล โครงการอาคารเช่า สำหรับกลุ่ม First Jobber

ส่วนกลุ่ม First Jobber ที่ยังไม่พร้อมจะซื้อบ้าน การเคหะแห่งชาติยังได้คัดเลือกโครงการอาคารเช่า 7 ทำเล ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนรวม 1,428 หน่วย มาจัดโปรโมชันพิเศษให้กับกลุ่ม First Jobber ในอัตราค่าเช่าเริ่มต้นที่ 1,200 บาท เริ่มตั้งแต่วันนี้-30 พฤศจิกายน 2567 ได้แก่

  1. โครงการเคหะชุมชนพรพระร่วงประสิทธิ์ ระยะ 1 ส่วน 1 และ 2 รูปแบบแฟลต 5 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 31 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ซ.วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ถ.สุขาภิบาล 5 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ
  2. โครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง รูปแบบแฟลต 5 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 36 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.กำแพงเพชร แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ
  3. โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จังหวัดสมุทรสาคร (กระทุ่มแบน 3) รูปแบบแฟลต 4 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 28 และ 30 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เทศบาล 3 ต.ตลาดกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
  4. โครงการเคหะชุมชนออเงิน ระยะ 2 รูปแบบแฟลต 5 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 31 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.สุขาภิบาล 5 แขวงสายไหม เขตออเงิน กรุงเทพฯ
  5. โครงการอาคารเช่ามาตรฐานรอง เพชรเกษม 91 รูปแบบแฟลต 5 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 24 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พุทธสาคร ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
  6. โครงการอาคารเช่ามาตรฐานรอง เพชรเกษม ระยะ 2 รูปแบบแฟลต 5 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 24 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พุทธสาคร ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
  7. โครงการเคหะชุมชนบางพลี วาระ 2 ส่วน 2 ระยะ 1 รูปแบบแฟลต 5 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 31 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ
  8. โครงการอาคารเช่าบ้านพระรามสี่ พลัส รูปแบบแฟลต 14 ชั้น ห้องมีพื้นที่ใช้สอย 32.8 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ


สำหรับผู้ที่สนใจโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1615 และสามารถติดตามข่าวสารการเคหะแห่งชาติได้ที่ www.nha.co.th

นอกจากนี้ยังจะพิจารณาทบทวนเกณฑ์การถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ เพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยด้วย

มาตรการรัฐเหล่านี้น่าจะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ส่งเสริมการลงทุน การผลิต และการจ้างงาน ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว หากมีการผลักดันอย่างจริงจังและต่อเนื่องก็น่าจะช่วยให้อสังหาฯไทยค่อยๆฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง


ที่มา:

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

บทความแนะนำสำหรับคุณ

เคล็ดลับจัดบ้านรับปีใหม่ 7 วัน 7 โซน

Happy at Home

เคล็ดลับจัดบ้านรับปีใหม่ 7 วัน 7 โซน

พาชมแบบบ้านใหม่ X Urban Series ทำเลสุขุมวิท 77

Home Highlights

พาชมแบบบ้านใหม่ X Urban Series ทำเลสุขุมวิท 77

ส่องโครงการหรู บ้านในเมืองแห่งใหม่ใจกลางราชพฤกษ์

Home Highlights

ส่องโครงการหรู บ้านในเมืองแห่งใหม่ใจกลางราชพฤกษ์

5 วิธีจัดการกับหนี้สินเชื่อบ้านในภาวะดอกเบี้ยสูง

Home Expert

5 วิธีจัดการกับหนี้สินเชื่อบ้านในภาวะดอกเบี้ยสูง

บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ ราคา 10 ล้าน ทำเลใจกลางราชพฤกษ์

Home Highlights

บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ ราคา 10 ล้าน ทำเลใจกลางราชพฤกษ์

6 เหตุผลที่คุณควรเลือกบ้าน ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ บนถนนหอการค้าไทย ทำเลแจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์

Home Highlights

6 เหตุผลที่คุณควรเลือกบ้าน ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ บนถนนหอการค้าไทย ทำเลแจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์

เปิดประสบการณ์การอยู่อาศัยสุดพรีเมียมที่ VAVILA สุขุมวิท 77

Home Expert

เปิดประสบการณ์การอยู่อาศัยสุดพรีเมียมที่ VAVILA สุขุมวิท 77

บ้านหรู VAVILA vs เพนท์เฮาส์ 6 ข้อดีทำไมต้องเลือก VAVILA

Home Expert

บ้านหรู VAVILA vs เพนท์เฮาส์ 6 ข้อดีทำไมต้องเลือก VAVILA

4 เทคนิค เคล็ดลับกู้บ้านยังไงให้ผ่านฉลุย

Home Expert

4 เทคนิค เคล็ดลับกู้บ้านยังไงให้ผ่านฉลุย

© 2025 Property Perfect Public Company Limited. All Rights Reserved.